คาร์ซีท อุบัติเหตุ และลูกน้อยของคุณ

คาร์ซีท อุบัติเหตุ และลูกน้อยของคุณ

จะมีอะไรมากไปกว่า การได้เห็นความของลูกน้อย การที่เค้าค่อยๆ เจริญเติบโต

และปลอดภัยจากสิ่งต่าง ๆ จนโตเป็นลูกที่น่ารักของเราไปทุก ๆ วัน สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นความสำคัญ

ของการเลี้ยงดูเด็กคนนึง ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าความปลอดภัย เป็นหนึ่งในการหลักสำคัญ

ที่พ่อแม่จำเป็นต้องทำ เพราะว่าเด็กยังดูแล และป้องกันตัวเองไม่ได้ จากสิ่งอันตรายต่าง ๆ เพราะพวกเค้าต่าง

ไร้เดียงสา ในโลกอันกว้างใหญ่นี้ คนเป็นพ่อเป็นแม่ของเด็ก ต้องดูแลอย่างที่ดีที่สุดเพื่อให้เขาโตมาอย่างปลอดภัย

 

ประเด็นที่ยกเข้ามาพูดถึงนี่ เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับประเด็นทางสังคม ที่กำลังเป็นที่พูดกันอย่างกว้างขวาง

เรื่องเกี่ยวกับกฏหมายใหม่ ตามราชกิจจานุเบกษา ของการติดตั้งให้ สำหรับผผู้โดยสาร ในรถยนต์ส่วนบุคคล

อายุไม่เกิน 6 ปี จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องนั่งบนคาร์ซีท และโดยสาร เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

แน่นอนว่าในนามกฏหมาย ค่อยข้างชัดเจน เรื่องข้อบังคับเพื่อปฏิบัติ หากใครไม่กระทำ อาจมีความผิดตามกฏหมาย

 

มาดูกันหน่อยว่า กฎหมายบัญญัติกำหนดเกี่ยวกับเรื่อง คาร์ซีท อุบัติเหตุ ไว้ว่าอย่างไรบ้าง

วันที่ 8 พ.ค. 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2565

โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ

พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

 

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่งพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน อาทิ คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น

ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์

 

คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่นั่งพิเศษ

สำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

 

คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง

หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

 

ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือคนโดยสารมีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกาย

ด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง

แต่บุคคลนั้นต้องมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

ทั้งนี้มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

โดยพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับในอีก 120 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

ประเด็นเรื่องนี่เป็นที่พูดถึง กันอย่างกว้างขวาง ใน Social เพราะเมื่อเป็นกฎหมาย

และเมื่อทำผิด ย่อมมีการลงโทษ ตาทบทบัญญัติของมัน พอมีเรื่องของการปรับเงิน

2000 บาท หากทำการละเมืด และ โลกนี้เหรียญมีสองด้าน มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย

และไม่เห็นด้วย

 

โดยเนื้อหาของฝั่งที่เห็นด้วย สรุปใจความได้ว่า

เป็นเรื่องที่ดี ที่มีกฎหมายมาควบคุม เนื่องจากเรื่องการสร้างความปลอดภัย เป็นหน้าที่หลัก

ของพ่อแม่ และ ครอบครัวอยู่แล้ว ในการสร้าง ความปลอดภัยสำหรับเด็ก หรือ ทารก มีความเป็นอย่างยิ่ง

ที่ต้องมีคาร์ซีท ติดตั้งในรถทุกครั้ง ถ้าเดินทางโดยสาร พร้อมเด็ก หรือ ทารก เนื่องจากมองว่า

คาร์ซีทช่วยได้จริง ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ สามารถเซฟชีวิตของลูกได้

 

เนื้อหาของฝั่งที่ไม่เห็นด้วย สรุปใจความได้ว่า

ไม่ใช่ทุกครอบครัว จะมีความพร้อมในการซื้อคาร์ซีท หรือว่าแจ้งว่า ราคา

ของคาร์ซีท ก็ไม่ใช่ถูก ๆ บางบ้าน การใช้เงิน 2-3 พัน ถือว่าเป็นรายได้ ที่ซื้ออาหารกินได้หลายมื้อ

(ไม่มีเงินซื้อคาร์ซีท แต่มีเงินซื้อรถ งงเหมือนกัน 😂)

และก็สามารถดูแลได้ แม้ไม่ต้องมีคาร์ซีทขณะนั่งรถ หรือ โดยสาร เด็กก็โตมาได้โดยไม่เป็นไร

และแจ้งว่า สถานะทางการเงินก็ไม่ใช่จะดี ออกกฎหมายแบบนี้คือ กลั่นแกล้ง รึเปล่า ถึงออกกฎปรับแบบนี้

 

หากนี่เป็นประเด็นที่ต้องการทางออก แต่มุมมองทางความคิดของคนเราไม่อาจจะบรรจบกันได้ 100%

เพราะกลุ่มความคิด สามารถแตกประเด็นได้หลายทาง งั้นเอาเป็นว่าเราเอาเหตุการณ์สำหรับประเด็นของ คาร์ซีท อุบัติเหตุ

มาให้เปรียบเทียบ เพื่อตัดสินใจกันเองว่า ควรหรือไม่ควร ที่จะมีคาร์ซีทให้สำหรับเด็ก

ในระหว่างการเดินทางด้วยรถโดยสารกันแน่ ?

 

ขอบคุณข่าวจากต้นทาง

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 เคยมีอุบัติเหตุที่ สะเทิอนขวัญ และ บีบหัวใจคนเป็นพ่อแม่

กับเหตุการณ์รถเบ๊นซ์ พุ่งชนรถกระบะของคุณตายาย 2 ท่าน ที่กำลังขับพร้อม อุ้มหลานน้อยวัย 7 เดือน

อยู่บนตัก พร้อมกับให้นมหลานไปด้วย โดยที่เด็กไม่ได้นั่งคาร์ซีท เนื่องจากคาร์ซีทนั้น ติดตั้งอยู่บนรถของแม่

และขับไปทำงาน โดยไม่ได้ถูกย้ายมาติดตั้ง กับรถของคุณตา คุณยาย

ด้วยความแรงของการชนครั้งนั้น ทำให้เด็ก 7 เดือน หรือ น้องดาริน

กระเด็นออกมาทางหน้าต่างรถ ตกที่พื้นถนน กลางถนน

เป็นโชคดีของน้องดาริน ที่ไม่บาดเจ็บ หรือ เป็นอะไรมากกว่านั้น

หัวของคนเป็นพ่อแม่แทบสลาย เมื่อได้ยินข่าวดังกล่าว เป็นอุบัติการณ์

ที่ช่วยกระตุ้นให้สังคม และ พ่อแม่ ออกมาซื้อคาร์ซีทใช้กับลูกน้อยมากขึ้น

ตัวคุณแม่ของน้องดารินก็ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Ammy Teera

เพื่อย้อนอุทาหรณ์จากใจของคนเป็นแม่ ถึงกระแสดราม่าคาร์ซีทขณะนี้ด้วย

โดยระบุข้อความว่า

“ถึงคนที่กำลังบ่นเรื่องการบังคับใช้คาร์ซีทอยู่

จากใจแม่คนนึงที่เคยพลาด….แค่ 1 วันที่ไม่ได้ให้ลูกนั่งคาร์ซีท เพราะอยู่ในรถที่เอาขับมาทำงาน…

รถที่ดารินไปไม่มีคาร์ซีท โดยยายอุ้มป้อนนมอยู่…รถคุณตาโดนรถคันอื่นชนท้าย

ทำให้พลิกคว่ำ ดารินหลุดออกนอกกระจกมากลางถนน….

ไม่ใช่เด็กทุกคนจะรอดมาได้เหมือนดาริน

อ้อมกอดแม่ปลอดภัยแต่ไม่ใช่ในรถ

เราขับดี เราขับระวัง แต่คนอื่นเค้าระวังไหม?

ฝากไว้นะคะ ขอให้ลูกๆทุกบ้านปลอดภัย”

 

 

ข่าวนี้เตือนถึงพ่อแม่ที่ยังไม่ติดตั้งคาร์ซีทสำหรับเด็ก ว่าหากเหตุไม่ติดตั้ง อาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝันนี้กับลูกคุณก็ได้

 

มาอีกฝั่งหนึ่ง กับฝั่งที่ติดตั้งคาร์ซ๊ทแล้ว แต่เกิดอุบัติเหตุขึ้น คาร์ซีท ได้ช่วยอะไรให้เหตุการณ์แบบนี้ คาร์ซีท อุบัติเหตุ

เมื่อเวลา 10.50 น.ของวันที่ 21 ธันวาคม 2565 อาสาสมัครกู้ภัยสว่างบำเพ็ญธรรมสถานได้รับแจ้งว่ามีอุบัติเหตุรถยนต์

นั่งส่วนบุคคลเสียหลักพุ่งชนต้นไม้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ในจำนวนนั้นมีเด็กทารกรวมอยู่ด้วย หลังรับแจ้งลงพื้นที่ตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุอยู่ริมถนนหลังโรงเรียนแห่งหนึ่ง  ที่ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี พบรถยนต์ สีบรอนซ์

ทะเบียน นครราชสีมา สภาพกันชนและล้อฝั่งคนขับพังยับ บริเวณจุดเกิดเหตุยังพบต้นสักขนาดความกว้างของลำต้น 40 เซ็นติเมตร

หักโค่นลงมา ภายในรถพบหญิงสาว 1 รายได้รับบาดเจ็บบริเวณแขนขวา คาดว่าจะถูกแรงกระแทกของถุงลมนิรภัย

ด้านหลังเบาะของรถยนต์คันที่เกิดเหตุพบร่างของเด็กชายวัย 2 เดือน หลุดออกจากคาร์ซีท

ตรวจสอบตามร่างกายไม่พบร่องรอยของการบาดเจ็บแต่อย่างใด จากนั้นทางอาสากู้ภัยนำตัว 2

แม่ลูกส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจทำการรักษาต่อไป

สอบถามนางสาวพิมพ์พรรณ อายุ 37 ปี กล่าวว่า คนขับรถเพื่อจะไปส่งลูกให้กับพี่เลี้ยงพอมาที่เกิดเหตุ

ตนก็วูบหลับจากนั้นรถก็พุ่งชนต้นไม้ ส่วนสาเหตุที่เกิดขึ้นน่าจะเกิดจากการหลับในเพราะตนเลี้ยงลูกมาทั้งคืน

ไม่ได้นอนและเกิดอาการอ่อนหล้าจึงวูบรถเสียหลักลงข้างทางชนกับต้นไม้ดังกล่าว

 

หลังจากอ่านข่าวทั้งสองกรณีแล้ว ต้องเป็นคุณพ่อคุณแม่เองแล้วละ ที่จะตัดสินใจว่า

รถของท่าน ควรมีคาร์ซีท สำหรับลูกน้อยหรือไม่

ถ้าเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพ่อแม่เสมอ

 

>> Chicco KidFit <<